มกอช.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ครั้งที่ 1/2568 เพื่อขับเคลื่อน แผนปฏิบัติการด้านการอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ.2566-2570) สำหรับเป้าหมายที่ 3

24 Mar 2568
71
มกอช.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ครั้งที่ 1/2568 เพื่อขับเคลื่อน แผนปฏิบัติการด้านการอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ.2566-2570) สำหรับเป้าหมายที่ 3
                มกอช. จับมือ กรมควบคุมโรค และ อย.กระชับความร่วมมือขับเคลื่อนด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ครั้งที่ 1/2568 เพื่อขับเคลื่อน แผนปฏิบัติการด้านการอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ.2566-2570) สำหรับเป้าหมายที่ 3 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหารเพิ่มขึ้น นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ร่วมกับ นายแพทย์ดิเรก ขำแป้น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เภสัชกร เลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษภักดี โพธิสิริ รองศาสตราจารย์ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามองค์ประกอบของคณะกรรมการ ประกอบด้วย กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม ๓๕๑ อาคาร ๓ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติและผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับทราบมติการประชุมคณะอนุกรรมการการประเมินและจัดการความเสี่ยงความปลอดภัยอาหาร และโรคที่เกิดจากอาหาร คณะอนุกรรมการศึกษารูปแบบและกลไกการบริหารจัดการการกล่าวอ้างประสิทธิผลของสินค้าเกษตรและอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ คณะอนุกรรมการติดตามเป้าหมายความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และร่วมกันพิจารณาการทบทวนและปรับค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดที่3 ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐) จำนวน 2 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ตัวชี้วัดที่ 3.2 ร้อยละจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษสูง มีการขับเคลื่อนงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค และตัวชี้วัดที่ 3.3 ร้อยละจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษลดลงจากปีที่ผ่านมา และผลการศึกษาค่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารของสินค้าเกษตร ประจำปี พ.ศ. 2566 – 2567 รวมทั้งเรื่องที่เสนอบรรจุในระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 ในวันอังคารที่ 8 เมษายน 2568 ทิศทางการดำเนินการเชิงรุกดังกล่าว เป็นแนวทางหนึ่งของคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหารบูรณาการความร่วมมือสร้างความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและรายงานผลรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ และการเผยแพร่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารของสินค้าเกษตรของประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารให้กับผู้บริโภคของไทย สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง ด้านอาหารและโภชนาการอย่างยั่งยืน เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ และผู้บริโภค มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม” และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals, SDGs) ต่อไป